แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กต่ำกว่า 3 ปี
แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและ การเรียนรู้ของเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี กรมอนามัย 10 แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและ การเรียนรู้ของเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี กรมอนามัย 11 1.2 ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเด็ก • ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย เด็กปฐมวัย เป็นเด็กที่อยู่ในช่วงวัยตั้งแต่แรกปฏิสนธิจนถึงอายุ 8 ปี ธรรมชาติของเด็กปฐมวัยนั้นเป็นสิ่งที่ มีและติดตัวเด็กมาตั้งแต่ปฏิสนธิเป็นทารก เมื่อพิจารณาตามธรรมชาติของเด็ก ซึ่งมีพัฒนาการด้าน การเจริญเติบโต วุฒิภาวะ การเรียนรู้ และความต้องการต่างๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุและพัฒนาการตามธรรมชาติ ของเด็ก ช่วงวัยนี้เป็นช่วงระยะที่ส�ำคัญที่สุดของพัฒนาการทุกด้านทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ สังคม และบุคลิกภาพ ซึ่งในแนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี จะกล่าวถึงเด็กใน 2 ช่วงวัย คือ 1) วัยทารก หมายถึง เด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 1 ปี โดยเด็กที่ มีช่วงอายุหนึ่งเดือนแรกเป็นช่วงวัยที่ส�ำคัญในการวางรากฐาน ส�ำคัญของชีวิต เป็นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด คือจาก ช่วยเหลือตนเองไม่ได้เลยจนเริ่มที่จะสื่อสารความต้องการของ ตัวเองได้ รวมถึงการเจริญเติบโตและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ มัดใหญ่ และมัดเล็ก เช่น ชันคอ คว�่ำ คืบ คลาน เกาะยืน ก้าวเดินได้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ธรรมชาติของตัวเด็กจะท�ำให้พ่อแม่ผู้ปกครองหรือครู/ผู้ดูแลเล็กเข้าใจเด็กมากขึ้น เด็กปฐมวัย เป็นวัยที่จะก้าวเข้าสู่การพัฒนาของชีวิต เด็กจะเริ่มพัฒนาลักษณะความเป็นตัวของตัวเอง ให้ความสนใจ ในสิ่งรอบตัว ดังนั้น ผู้ปกครองหรือผู้ที่ท�ำหน้าที่ดูแลเด็กวัยนี้ จึงควรเข้าใจ และยอมรับถึงลักษณะเฉพาะ ของแต่ละวัย เพื่อให้การสนับสนุนและดูแลเด็กวัยนี้ได้อย่างเหมาะสม • จิตวิทยาพัฒนาการเด็ก จิตวิทยา เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ จุดมุ่งหมายของจิตวิทยาที่ส�ำคัญ คือ เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจในพฤติกรรมต่างๆของบุคคลได้ง่ายขึ้น และสามารถน�ำเอาความรู้ที่ได้รับไปใช้ให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นได้ ในแนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กอายุ ต�่ำกว่า 3 ปี จะกล่าวถึงจิตวิทยาพัฒนาการของเด็กปฐมวัย และลักษณะพัฒนาการของเด็กปฐมวัย เพื่อให้ ครู/ผู้ดูแลเด็กเข้าใจพฤติกรรมของเด็กแต่ละช่วงวัยมากขึ้น - พัฒนาการของเด็กปฐมวัย พัฒนาการของเด็กปฐมวัยทุกคนเปลี่ยนแปลงไปตามแบบแผนเดียวกันคือ 1. ล�ำดับขั้นของพัฒนาการ มีการเปลี่ยนแปลงไปตามขั้นตอนอย่าง ต่อเนื่องและมีทิศทางก้าวหน้า และไม่มีการหยุดนิ่งอยู่กับที่ พัฒนาการใน ขั้นต้นจะเป็นพื้นฐานของพัฒนาการในขั้นต่อไปที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เช่น ความสามารถในการวาดรูป เด็กเล็กจะสามารถใช้กล้ามเนื้อแขนและมือ ในการเคลื่อนไหวลากเส้นโยงไปมาอย่างไม่มีทิศทาง สามารถบังคับ กล้ ามเนื้อนิ้วได้มากขึ้น ควบคุมการลากเส้นอย่ างมีทิศทางตาม ความต้องการ และสามารถวาดรูปคล้ายของจริงได้ในที่สุด 2. การเปลี่ยนแปลงทางด้านปริมาณ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้ ชัดเจน สามารถวัดได้โดยเฉพาะการเพิ่มขนาดของรูปร่างและอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เมื่อเด็กอายุมากขึ้นและได้รับสารอาหารที่เพียงพอตามความ ต้องการของร่างกาย ขนาดของร่างกายก็จะขยายใหญ่ขึ้น ส่วนสูงและน�้ำหนัก ก็เพิ่มขึ้น รวมทั้งการแสดงออกถึงขีดความสามารถในด้านต่างๆ ก็เพิ่มขึ้นด้วย เช่นการเรียนรู้ศัพท์มากขึ้น ความจ�ำเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ เพิ่มขึ้นเป็นต้น ในช่วง ปฐมวัยนี้ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างร่างกายเป็นไปอย่างสม�่ำเสมอ เกิดจาก การเจริญเติบโตของกระดูกและกล้ามเนื้อ ท�ำให้เด็กมีรูปร่างผอมและสูงขึ้น 2) วัยเตาะแตะ หรือวัยเด็กเล็ก หมายถึง เด็กที่มีช่วงอายุ คาบเกี่ยว 1-3 ปี ตามพัฒนาการเด็กจะเริ่มหัดเดินเมื่ออายุประมาณ 1 ขวบ ลักษณะการเริ่มหัดเดิน เด็กจะเดินไม่มั่นคงจึงเรียกเด็กที่เพิ่ง หัดเดินว่าเป็น เด็กวัยเตาะแตะ เมื่ออายุประมาณ 1 ขวบครึ่ง 2 ขวบ จนถึง 3 ขวบ เด็กมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย สามารถเดินได้ด้วย ตนเอง ไม่ต้องเอามือไปจับโต๊ะ เก้าอี้ หรือ ผนังก�ำแพงในการเดิน โดยไม่ต้องช่วยเหลือ เป็นวัยที่มีความเป็นตัวของตัวเอง ช่วยเหลือ ตนเอง เป็นระยะที่เด็กเริ่มมีความอิสระ ทั้งทางด้านร่างกายและสังคม ชอบเดินไปเดินมาอย่างอิสระ จึงเป็นช่วงส�ำคัญที่ต้องคอยดูแล ความปลอดภัยของเด็กอย่างใกล้ชิด 3. การเปลี่ยนแปลงทางด้านคุณภาพ เป็นการเปลี่ยนแปลง ที่สลับซับซ้อนเกี่ยวข้องกับกลไกในการท�ำงานภายในร่างกายที่ ก่อให้เกิดความสามารถใหม่ๆ เช่น ก่อนที่จะใช้ค�ำพูดสื่อความ หมายคล้ายผู้ใหญ่ได้จะต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอนเกี่ยว กับการใช้ภาษา เช่น การฟัง การเปล่งเสียง การแยกความแตกต่าง ของเสียง การเลียนเสียง การเรียนรู้ความหมายและอื่นๆ มาเป็น ล�ำดับ 4. ความสัมพันธ์ของพัฒนาการแต่ละด้าน พัฒนาการของเด็กเกิดจาก การเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน พัฒนาการทุกด้านทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา มีความส�ำคัญเสมอภาคและเกี่ยวข้องสัมพันธ์ กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมส่งผลให้พัฒนาการ ด้านอื่นเปลี่ยนแปลงไปด้วย ทั้งในทางบวกและทางลบ เช่น เด็กที่มีร่างกาย แข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์ แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญญาด้านการเจริญเติบโตของ ร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะหนึ่ง อารมณ์หงุดหงิด มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NDQyNzM=