แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กต่ำกว่า 3 ปี

แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและ การเรียนรู้ของเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี กรมอนามัย 114 แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและ การเรียนรู้ของเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี กรมอนามัย 115 จากกิจกรรมการสร้างความสัมพันธ์ข้างต้น เป็นกิจกรรมที่จะสามารถช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ครอบครัวและชุมชนได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม การสร้างความสัมพันธ์ด้วยสื่อ กิจกรรมเพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนั้น อาจแตกต่างกันไปตามความต้องการและความ เหมาะสมของแต่ละท้องถิ่น 4.3 การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้และความปลอดภัย การจัดสภาพแวดล้อมในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย มีความส�ำคัญต่อเด็ก เนื่องจากธรรมชาติของเด็กวัยนี้สนใจที่จะเรียนรู้ ค้นคว้า และต้องการสัมผัส กับสิ่งแวดล้อม รอบๆ ตัว ดังนั้น การจัดเตรียมสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม ตามความต้องการของเด็ก จึงมีความจ�ำเป็นและส�ำคัญที่เกี่ยวข้องกับ พฤติกรรมและการเรียนรู้ของเด็ก เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่นซึ่งถือเป็น ประสบการณ์ตรง เกิดจากการรับรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า จึงจ�ำเป็น ต้องจัดสิ่งแวดล้อมในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยให้สอดคล้องกับสภาพและ ความต้องการ รวมถึงต้องมีความปลอดภัยเพื่อส่งผลให้บรรลุจุดมุ่งหมาย ในการพัฒนาเด็กต่อไป กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ค�ำนึงถึงความเหมาะสมในการจัดบรรยากาศทั้งภายในและภายนอก ห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้และส่งเสริมพัฒนาการตามช่วงวัย โดยได้ ก�ำหนดพัฒนาและปรับปรุงดังนี้ 1. ภายในห้องเด็ก จัดพื้นที่ส�ำหรับการท�ำกิจกรรมเดี่ยวและกลุ่ม หรือมุมส�ำหรับเก็บของใช้ส่วนตัวของเด็ก โดยเน้นพัฒนาการ ตามช่วงอายุเป็นหลัก โดยจะเน้นให้มีความสะอาด ปลอดภัย และสวยงาม ดังนี้ กลุ่มอายุ แนวทางการอบรมเลี้ยงดู แนวทางการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้และ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 3 เดือน-1 ปี 1. ด้านการส่งเสริมพัฒนาการ 1.1 การเคลื่อนไหวและการทรงตัว - ปรับพื้นโดยบุนวมหนา เพื่อให้มี ความเหมาะสม ในการฝึกการคืบคลาน เกาะยืนและเดิน - มีคอก/โซฟา ฝึกเกาะเดิน 1.2 การฝึกการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือ-ตา - มีตัวต่อ /มุมหนังสือนิทาน - มีการตกแต่งห้องโดยใช้สีสัน 1.3 การส่งเสริมทักษะทางด้านภาษา - กระตุ้นให้เด็กเปล่งเสียงหรือเลียนเสียงพูด กลุ่มอายุ แนวทางการอบรมเลี้ยงดู แนวทางการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้และ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 1.4 การส่งเสริมทักษะทางสังคม - มีการจัดมุมเก็บของให้กับเด็กเป็น รายบุคคลลักษะทางสังคม 1.5 การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 - มีพื้นหัดเดินหลากหลายสัมผัส เช่น หญ้า หิน ดิน ทราย น�้ำ 1.6 การส่งเสริมการส�ำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัว - สีสันรอบห้องเด็ก/ของเล่นส่งเสริม พัฒนาการ 1.7 การส่งเสริมจินตนาการและคิดสร้างสรรค์ - สีสันรอบห้องเด็ก/ของเล่นส่งเสริม พัฒนาการ 1.8 การส่งเสริมด้านอารมณ์อารมณ์ จิตใจ - มีเครื่องเล่น CD เพลง เครื่องดนตรี การตกแต่งห้องให้มีสีสันสวยงาม 1.9 การฝึกสุขนิสัยและลักษณะนิสัยที่ดี - มีโถฝึกขับถ่าย มีอ่างล้างหน้า+กระจก ส�ำหรับล้างมือ แปรงฟัน 2. ด้านความปลอดภัย 2.1 ผนัง - มีการบุผนังด้วยเบาะนวม เพื่อป้องกัน การกระแทกของเด็ก 2.2 โต๊ะ ตู้ เตียง - มีการบุขอบโต๊ะ ขอบเก้าอี้ ด้วยยางกัน กระแทก 2.3 ประตู หน้าต่าง - มีการติดตั้งมุ้งลวด 2.4 ห้องน�้ำ - ในห้องน�้ำจะมีอ่างอาบน�้ำเด็กอ่อน และ ชั้นพักตัวเด็ก เพื่อป้องกันครูพี่เลี้ยงอุ้ม เด็กพลาด 3. ด้านความสะอาด 3.1 ของเล่น - การท�ำความสะอาดของเล่น อาทิตย์ละ 1 ครั้ง 3.2 เบาะนอน ผ้าปู ปลอกหมอน - มีการท�ำความสะอาดผ้าปูที่นอน ปลอกหมอนอาทิตย์ละ 1 ครั้ง 3.2 ห้องเลี้ยงเด็ก - มีแม่บ้านท�ำความสะอาดวันละ 2 ครั้ง ช่วงเช้า และเย็น

RkJQdWJsaXNoZXIy NDQyNzM=