แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กต่ำกว่า 3 ปี
แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและ การเรียนรู้ของเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี กรมอนามัย 16 แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและ การเรียนรู้ของเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี กรมอนามัย 17 ตอนที่ 2 แบบที่ 1 แบบมั่นใจ เป็นรูปแบบที่แม่ลูกมีการเชื่อมต่อความสัมพันธ์ ต่อกัน แม่สามารถรับรู้ความรู้สึก ความต้องการของลูกได้ ไม่ว่าแม่จะไปไหน ลูกยังคงมีความมั่นคงภายในจิตใจ การเลี้ยงที่จะช่วยส่งเสริมลักษณะ ความสัมพันธ์แบบมั่นใจ เช่น การเล่นด้วยกัน การเล่นนิทานให้ฟัง นอนด้วย กันกับลูกตลอด รับรู้ความต้องการของลูก โดยสามารถสังเกตได้จากการที่เด็ก รู้สึกเชื่อใจและไว้ใจแม่ เมื่อแม่ไม่อยู่ ลูกอาจจะรู้สึกไม่ปลอดภัยหรือกังวล เล็กน้อยแต่มีความเชื่อว่าแม่จะกลับมา และเมื่อแม่กลับมาเด็กจะตอบรับ การกลับมาของแม่ด้วยการยิ้มดีใจเข้าไปกอด ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีความ สัมพันธ์อันดีซึ่งกันและกัน ดังนั้นรูปแบบการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีที่สุดระหว่าง ครู/ผู้ดูแลเด็ก ช่วงอายุ 0-2 ปี คือรูปแบบความสัมพันธ์ แบบมั่นใจ หรือรู้สึกปลอดภัย ซึ่งสามารถสร้างกับเด็กได้โดยครู/ผู้ดูแลต้องเข้าใจความต้องการของเด็ก ตอบสนองสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม ปฏิบัติเสมือนเป็นพ่อแม่ของเด็ก เช่น เด็กร้องไห้เพราะคิดถึงพ่อแม่ เรา ต้องเข้าไปแสดงความเข้าใจ เช่น ครูรู้ว่าหนูเสียใจที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่เดี๋ยวครูจะให้หนูนั่งตรงนี้ ถ้าพร้อมที่จะไป เล่นกับครูแล้วเดินมาหาครูนะคะ (พร้อมให้การสัมผัสอย่างนุ่มนวล) ซึ่งพฤติกรรมนี้จะท�ำให้เด็กรู้ว่าครูเข้าใจ เขา และพร้อมจะอยู่กับเขา จากแนวคิดความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเด็กในส่วนที่ 1 นี้จะเป็นองค์ประกอบส�ำคัญที่จะท�ำให้ครู/ผู้ดูแลเด็กเข้าใจ และยอมรับในพฤติกรรมที่เด็กแต่ละคนแสดงออกมาได้ ท�ำให้การดูแลและจัดประสบการณ์ส�ำคัญต่างๆ ในเด็ก เป็นไปตามความเหมาะสมของเด็กแต่ละบุคคลต่อไป แบบที่ 2 แบบวิตกกังวล-เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เป็นรูปแบบที่แม่ปฏิบัติหรือ มีพฤติกรรมไม่สม�่ำเสมอกับลูก เช่น เอาใจลูก ตามใจ เมื่อตนเองรู้สึกดี หรือ ดุ ไม่ตามใจ เข้มงวด ในเวลาที่ตนเองรู้สึกไม่สบายใจ โดยสามารถสังเกตได้ จากการที่เด็กจะติดแม่ไม่ยอมให้ไปไหนจะร้องไห้ เมื่อโตขึ้นเด็กที่ทีถูกเลี้ยงดู ในลักษณะแบบนี้มีแนวโน้มที่จะมีความไม่มั่นคงทางใจ โหยหาความรัก ขี้หึง ติดแฟน แบบที่ 3 แบบวิตกกังวล-หลีกเลี่ยง เป็นรูปแบบที่แม่เลี้ยงลูกแบบรักลูก แต่ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึกของลูก เพิกเฉย นิ่ง พยายามไม่ให้ความสนใจแต่ ปฏิกิริยาของลูกใช้เหตุผลต่างๆ อธิบายให้ลูกฟังโดยไม่ได้เข้าใจความรู้สึก ของลูก แนวโน้มของเด็กเมื่อโตเป็นผู้ ใหญ่ก็จะไม่สนใจความรู้สึกของ คนรอบข้าง เย็นชา แบบที่ 4 แบบไม่มีระเบียบ แบบหวาดผวา เป็นรูปแบบที่แม่เลี้ยงลูกโดยใช้ อารมณ์รุนแรง คือ ไม่รักลูกและท�ำร้ายลูกทั้งทางกาย วาจา ✔ ✘ ✘ ✘ แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการ และการเรียนรู้ของเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NDQyNzM=