แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กต่ำกว่า 3 ปี

แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและ การเรียนรู้ของเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี กรมอนามัย 18 แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและ การเรียนรู้ของเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี กรมอนามัย 19 ตอนที่ 2 ครูผู้ดูแลเด็ก หรือผู้บริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยจ�ำเป็นต้องเข้าใจหลักการเบื้องต้นของการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ เพื่อที่จะสามารถน�ำไปปรับใช้ในการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและ การเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเหมาะสม ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ได้ก�ำหนดแนวทาง การอบรมเลี้ยงดูและการจัดประสบการณ์ ส�ำหรับเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี ดังนี้ แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและ การเรียนรู้ของเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี 2.1 หลักการและจุดหมายของการส่งเสริมพัฒนาการผ่านการอบรมเลี้ยงดูและการ จัดประสบการณ์เรียนรู้ที่เหมาะสมกับเด็กต�่ำกว่า 3 ปี • หลักการ ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ได้ระบุว่า “เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการอบรมเลี้ยงดู และส่งเสริมพัฒนาการ ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กตลอดจนได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเหมาะ สม ด้วยปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับพ่อแม่ เด็กกับผู้เลี้ยงดูหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดู การพัฒนา และให้การศึกษาแก่เด็กปฐมวัยเพื่อให้เด็กมีโอกาสพัฒนาตนเองตามล�ำดับขั้นของพัฒนาการทุกด้าน อย่างเป็นองค์รวมมีคุณภาพ และเต็มศักยภาพ” โดยก�ำหนดหลักการ ดังนี้ 1. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกคน 2. ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นส�ำคัญ โดยค�ำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และวิถีชีวิตของเด็กตามบริบทของชุมชน สังคม และวัฒนธรรมไทย 3. ยึดพัฒนาการและพัฒนาเด็กโดยองค์รวม ผ่านการเล่นอย่างมีความหมายและมีกิจกรรม ที่หลากหลาย ได้ลงมือกระท�ำในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เหมาะสมกับวัย และมีการพักผ่อนเพียงพอ 4. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กมีทักษะชีวิต และสามารถปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอ เพียง เป็นคนดี มีวินัย และมีความสุข 5. สร้างความรู้ ความเข้าใจ และประสานความร่วมมือในการพัฒนาเด็กระหว่างสถานศึกษากับพ่อแม่ ครอบครัว ชุมชน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย • จุดหมาย การพัฒนาเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี มุ่งส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และ สติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถ ความสนใจ และความแตกต่างระหว่างบุคคล ดังนี้ 1. ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย แข็งแรง และมีสุขภาพดี 2. สุขภาพจิตดีและมีความสุข 3. มีทักษะชีวิตและสร้างปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบตัวและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข 4. มีทักษะการใช้ภาษาสื่อสาร และสนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆ • คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กต�่ำกว่า 3 ปี ในปี 2560 มีการบูรณาการการท�ำงานร่วมกันตามบันทึกข้อตกลงของ 4 กระทรวงที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ เด็กปฐมวัย ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ และกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งได้ ก� ำหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของเด็กปฐมวัยไว้ 4 คุณลักษณะ (4H) คือ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 เนื้อหาในตอนที่ 2 จะเป็นการรวบรวม หลักการการดูแลเด็กและแนวคิดในการสร้างสุขภาพอนามัย รวมถึงการติดตามการเจริญเติบโต พัฒนาการ และการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องไว้เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งที่ส�ำคัญในการดูแลเด็ก 1. ดูแลสุขภาพอนามัยและตอบสนองความต้องการของเด็กเป็นรายบุคคล 2. สร้างบรรยากาศของความรัก ความอบอุ่น ความไว้วางใจ และความมั่นคงทางอารมณ์ให้กับเด็กในวิถี ชีวิตประจ�ำวัน 3. จัดประสบการณ์ตรงให้เด็กได้เลือกลงมือกระท�ำและเรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้งห้าและการเคลื่อนไหว ผ่านการเล่น 4. จัดประสบการณ์ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลที่แวดล้อมและสิ่งต่างๆ รอบตัวเด็กอย่างหลากหลาย 5. จัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก วัสดุอุปกรณ์ เครื่องใช้และของเล่นที่สะอาดหลากหลาย ปลอดภัย และเหมาะสมกับเด็ก เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กรอบด้าน รวมถึงมีพื้นที่ในการเล่นน�้ำ เล่นทราย 6. จัดหาสื่อการเรียนรู้ที่เป็นสื่อธรรมชาติ เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็ก สื่อที่เอื้อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ หลีกเลี่ยงการใช้สื่อเทคโนโลยีเป็นพี่เลี้ยงเด็ก 7. จัดรวบรวมข้อมูลและติดตามการเจริญเติบโต พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคลอย่าง ต่อเนื่องสม�่ำเสมอ 8. จัดกระบวนการเรียนรู้โดยให้พ่อแม่ ครอบครัว สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และชุมชน มีส่วนร่วมทั้ง การวางแผน การสนับสนุนสื่อ การเข้าร่วมกิจกรรม และการพัฒนาการเด็ก 1. Head : เก่ง 2. Heart : ดี มีวินัย 3. Hand : ใฝ่เรียนรู้ มีทักษะ 4. Health : แข็งแรง

RkJQdWJsaXNoZXIy NDQyNzM=