แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กต่ำกว่า 3 ปี

แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและ การเรียนรู้ของเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี กรมอนามัย 24 แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและ การเรียนรู้ของเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี กรมอนามัย 25 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ช่วงอายุ คุณลักษณะตามวัย * 2-3 ปี - กระโดดเท้าพ้นพื้นทั้ง 2 ข้าง - แก้ปัญหาง่ายๆ โดยใช้เครื่องมือด้วยตัวเอง - กระโดดข้ามเชือกบนพื้นไปข้างหน้าได้ - ขว้างลูกบอลขนาดเล็กได้ โดยยกมือขึ้นเหนือศีรษะ - ต่อก้อนไม้สี่เหลี่ยมลูกบาศก์เป็นหอสูงได้ 8 ก้อน - ยื่นวัตถุให้ผู้ทดสอบได้ 1 ชิ้นตามค�ำบอก (รู้จ�ำนวนเท่ากับ 1) - ยืนขาเดียว 1 วินาที - เลียนแบบลากเส้นเป็นวงต่อเนื่องกัน 1.7 การส่งเสริมจินตนาการและคิดสร้างสรรค์ เป็นการฝึกให้เด็กแสดงออกทางความคิดตามจินตนาการ ของตนเอง เปิดโอกาสให้เด็กเล่นเสรี 1.8 การส่งเสริมด้านอารมณ์ จิตใจ เป็นการส่งเสริมการเลี้ยงดูในการตอบสนองความต้องการของเด็ก ด้านจิตใจ ให้เกิดความอบอุ่นและมีความสุข 1.9 การฝึกสุขนิสัยและลักษณะนิสัยที่ดี เป็นการสร้างเสริมสุขนิสัยที่ดีในการดูแลสุขภาพอนามัย และ ความปลอดภัย และการแสดงมารยาทที่สุภาพ นุ่มนวล แบบไทย 2. อายุ 2-3 ปี การจัดประสบการณ์ผ่านการเล่นตามธรรมชาติที่เหมาะสมกับวัยอย่างเป็นองค์รวม ร่วมกับการใช้กรอบ แนวคิดการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรม ซึ่งการจัดกิจกรรมนั้น มีความสอดคล้องกับความต้องการ ความสนใจ และความสามารถตามวัยของเด็ก เด็กในช่วงวัยนี้จะมี พัฒนาการเพิ่มขึ้นมากกว่าในช่วงแรก เด็กมีการพึ่งพาตนเอง แสดงความเป็นตัวของตัวเอง จึงจ�ำเป็นต้องค�ำนึง ถึงสาระการเรียนรู้ที่ประกอบด้วย ประสบการณ์ส�ำคัญ และสาระที่ควรเรียนรู้ ตลอดจนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นไป สาระการเรียนรู้ 1. ประสบการณ์ส�ำคัญ เป็นสิ่งจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้เด็กได้ลงมือท�ำด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาเด็กทั้ง ทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ประสบการณ์ส�ำคัญจะเกี่ยวข้องกับการจัดสภาพแวดล้อม ทุกด้านที่กระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้และมีความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ รอบตัวใน วิถีชีวิตของเด็กและสังคมภายนอก อันจะสั่งสมเป็นทักษะพื้นฐานที่จ�ำเป็นต่อการเรียนรู้และพัฒนาในระดับที่ สูงขึ้น 2. สาระที่ควรเรียนรู้ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับตนเองเป็นล�ำดับแรก แล้วจึงขยายไปสู่เรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก เพื่อ น�ำไปใช้ในการด�ำเนินชีวิตประจ�ำวัน ประกอบด้วย 2.1 เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก 2.2 เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก 2.3 ธรรมชาติรอบตัว 2.4 สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก เพื่อให้ครู/ผู้ดูแลเด็กเข้าใจแนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมการและการเรียนรู้ของเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จึงขอยกตัวอย่างแนวคิดการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับกิจกรรมประจ�ำวัน ของเด็ก ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเจริญเติบโต สุขภาพกาย พัฒนาการด้านต่างๆ และการ ด�ำเนินชีวิต การสอนให้เด็กรู้จักการดูแลตนเองเพื่อการมีสุขภาพอนามัยที่ดีนั้น จะช่วย ให้สุขภาพร่างกาย แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยบ่อย ยังเป็นการช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ เนื่องจากขณะเจ็บป่วยเด็กมักจะมีพัฒนาการถดถอย รวมทั้งขาดโอกาสในการเรียนรู้ สิ่งต่างๆ ในชีวิต สุขอนามัยเบื้องต้น ส�ำหรับเด็กปฐมวัยควรเริ่มจากเรื่องพื้นฐานในชีวิต ประจ�ำวัน ได้แก่ กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน ดังนี้ 1) กิน ในช่วง 0-3 ปีแรก สมองของเด็กจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วถึงร้อยละ 80 ของสมองผู้ใหญ่ ช่วงนี้ถือเป็นโอกาสที่เด็กจะได้เรียนรู้และ มีพัฒนาการทั้งทางร่างกาย และสมอง เพื่อสร้างพื้นฐานให้แก่ชีวิตในระยะยาว แม่ควรให้ลูกได้กินนมแม่อย่างเดียว ถึงอายุ 6 เดือน และกินนมแม่ต่อเนื่องควบคู่กับอาหารตามวัยจนถึงอายุ 2 ปี ขึ้นไป 2.2 การอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ส�ำหรับเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี เล่มนี้จะแบ่ง การอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมพัฒนาเด็กออกเป็น 2 ช่วงอายุ ได้แก่ ช่วงอายุแรกเกิด-2 ปี เป็นแนวปฏิบัติ การอบรมเลี้ยงดูตามกิจกรรมประจ�ำวันและการเล่นตามธรรมชาติของเด็ก และช่วงอายุ 2-3 ปี เป็นแนวปฏิบัติ การอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ ซึ่งสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ดังนี้ • การอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ตามช่วงวัย 1. อายุแรกเกิด-2 ปี การอบรมเลี้ยงดูตามกิจกรรมประจ�ำวันโดยพ่อแม่และผู้เลี้ยงดู และการเล่นตามธรรมชาติของเด็ก ได้แก่ ด้านร่างกาย ส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ร่างกายตามความสามารถ ด้านอารมณ์จิตใจ ส่งเสริมการตอบสนอง ความต้องการของเด็กอย่างเหมาะสมภายใต้สภาพแวดล้อมที่อบอุ่นและปลอดภัย ด้านสังคม ส่งเสริมให้เด็ก มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลใกล้ชิด และด้านสติปัญญา ส่งเสริมให้เด็กได้สังเกตสิ่งต่างๆ รอบตัว เพื่อสร้าง ความเข้าใจและใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ส่งเสริมการคิด และการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมกับวัย ดังนี้ 1.1 การเคลื่อนไหวและการทรงตัว เป็นการส่งเสริมการใช้กล้ามเนื้อแขนกับขาและส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในการเคลื่อนไหวหรือออกก�ำลังกายทุกส่วน 1.2 การฝึกการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือ-ตา เป็นการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือ นิ้วมือ ให้พร้อม ในการหยิบจับ ฝึกการท�ำงานอย่างสัมพันธ์กันระหว่างมือกับตา 1.3 การส่งเสริมทักษะทางด้านภาษา เป็นการฝึกการเปล่งเสียง เลียนเสียงพูด ฝึกการให้เด็กรู้จัก สื่อความหมายด้วยค�ำพูดและท่าทาง 1.4 การส่งเสริมทักษะทางสังคม เป็นการส่งเสริมการสร้างความสัมพันธ์กับพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดู และบุคคล ใกล้ชิด 1.5 การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นการกระตุ้นการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการมองเห็น การได้ยิน การลิ้มรส การได้กลิ่น และการสัมผัส 1.6 ส่งเสริมการส�ำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัว เป็นการฝึกให้เด็กเรียนรู้ สิ่งรอบตัวผ่านเหตุการณ์ สื่อที่หลากหลาย ในโอกาสต่าง * คุณลักษณะตามวัย อ้างอิงตามคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) หรือสามารถเพิ่มเติมข้อมูลได้จากสมรรถนะ เด็กปฐมวัยในการพัฒนาตามวัย 0-3 ปี ของส�ำนักเลขาธิการสภาการศึกษา

RkJQdWJsaXNoZXIy NDQyNzM=