แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กต่ำกว่า 3 ปี
แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและ การเรียนรู้ของเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี กรมอนามัย 29 แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและ การเรียนรู้ของเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี กรมอนามัย 28 การดูแลสุขภาพช่องปาก ควรท�ำควบคู่ไปกับการดูแลโภชนาการที่เหมาะสม เช่น การเลิกขวดนมตามช่วง อายุที่เหมาะสม การจ�ำกัดการบริโภคอาหารหวาน เพราะพฤติกรรมการรับประทานมีผลต่อการเกิดโรคฟันผุใน เด็กเล็ก ตารางแสดงแนวทางการจัดกิจกรรมตามกระบวนการ “กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน” ทารก เด็กเล็ก เด็กโต แรกเกิด- 6 เดือน 6-9 เดือน 9-12 เดือน 12-18 เดือน 19-24 เดือน 25-36 เดือน 37-72 เดือน กินนมแม่ อย่างเดียว เด็ก 6 เดือนขึ้นไป ให้นมแม่ควบคู่กับอาหารทารกตามวัยจนเด็กอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น 1. กิน : นม แม่และ อาหาร ตามวัย กินนมแม่อย่างเดียว ไม่ต้องให้อาหารอื่น แม้แต่น�้ำเพราะนมแม่ มีสารอาหารครบถ้วน และเพียงพอ - อายุ 6 เดือน กินอาหาร 1 มื้อ ประกอบด้วย ข้าวต้มสุกบด ละเอียด 2 ช้อนกินข้าว ไข่แดงสุก ½ ฟอง สลับกับเนื้อสัตว์สุก 1 ช้อน กินข้าว ผักต้มเปื่อย ½ ช้อนกิน ข้าว น�้ำมัน 1/2 ช้อนชา ผลไม้สุกบดละเอียด วันละ 1 ชิ้น - อายุ 7 เดือน กินอาหาร 1 มื้อ ประกอบด้วยข้าวต้มสุกบดหยาบ 3 ช้อนกินข้าว ไข่สุก 1/2 ฟอง สลับ กับเนื้อสัตว์สุก 1 ช้อนกินข้าว ผัก สุก 1 ช้อนกินข้าว น�้ำมัน ½ ช้อน ชา ผลไม้สุกบดหยาบ วันละ 2 ชิ้น - อายุ 8 เดือน กินอาหาร 2 มื้อ ใน 1 มื้อ ประกอบด้วยข้าวสวยหุงนิ่มๆ บดหยาบ 4 ช้อนกินข้าว เนื้อสัตว์ หรือไข่ 1 ช้อนกินข้าวต่อมื้อ ผักสุก 1 ช้อนกินข้าว น�้ำมัน ½ ช้อนชา วันละมื้อ ผลไม้สุกตัดชิ้นเล็ก วันละ 3 ชิ้น อายุ 9-12 เดือน กินอาหาร 3 มื้อ 1 มื้อ ประกอบด้วยข้าว สวยหุงนิ่มๆ บดหยาบ 4 ช้อน กินข้าว เนื้อสัตว์สุก หรือไข่สุก 1 ช้อนกินข้าวต่อมื้อ ผักสุก 1½ ช้อนกินข้าว น�้ำมัน ½ ช้อนชา วันละมื้อ ผลไม้สุก หั่นชิ้นพอค�ำ วันละ 4 ชิ้น เมื่อทารกอายุ 1 ปี อาหารที่ได้ควบคู่กับนมแม่จะกลาย เป็นอาหารหลัก และให้นมแม่เป็นอาหารเสริมต่อเนื่อง จนถึงอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น เด็กอายุ 1-3 ปี ควรได้ รับอาหารใน 1 วัน ตามปริมาณ ดังต่อไปนี้ 1. กลุ่มข้าว-แป้ง 3 ทัพพี 2. กลุ่มผัก 2 ทัพพี 3. กลุ่มผลไม้ 3 ส่วน 4. กลุ่มเนื้อสัตว์ 3 ช้อนกินข้าว 5. กลุ่มนม 2 แก้ว อาหารส�ำหรับวัยนี้ สามารถกินอาหารได้ ใกล้เคียงกับผู้ใหญ่ เพียงแต่รสชาติไม่จัด เกินไป และต้องครบ 5 หมู่ เด็กอายุ 4-5 ปี ควรได้รับอาหารใน 1 วัน ตามปริมาณ ดังต่อไปนี้ 1. กลุ่มข้าว-แป้ง 5 ทัพพี 2. กลุ่มผัก 3 ทัพพี 3. กลุ่มผลไม้ 3 ส่วน 4. กลุ่มเนื้อสัตว์ 3 ช้อนกินข้าว 5. กลุ่มนม 2-3 แก้ว กิจกรรม ช่วงอายุ แนวคิด กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน นี้เป็นแนวคิดหนึ่งที่ช่วยใน การส่งเสริมและพัฒนาเด็กตามกิจกรรมประจ�ำวัน หากพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือครู/ผู้ดูแลเด็กให้ความส�ำคัญ เพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้นจึงขอยกตัวอย่าง แนวทางการจัดกิจกรรม “กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน” ด้วย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NDQyNzM=