แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กต่ำกว่า 3 ปี

แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและ การเรียนรู้ของเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี กรมอนามัย 35 แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและ การเรียนรู้ของเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี กรมอนามัย 34 ลักษณะของสื่อ ช่วงอายุ 0-6 เดือน 6-12 เดือน 13-24 เดือน 25-36 เดือน 4. สื่อที่ไม่ใช่ความเรียง (สื่อที่ไม่มีตัวหนังสือก�ำกับ) เป็นหนังสือที่มีภาพใหญ่ชัดเจน ผลิตด้วยกระดาษที่หนา มีความคงทน หรือ เป็นหนังสือนุ่มนิ่ม นุ่มนวลละมุนมือ แต่ต้องท�ำความสะอาดได้ ง่าย เพราะเด็กวัยนี้ชอบเลีย ชอบกัดหนังสือ ชอบเอาของทุกอย่างเข้า ปาก เช่น หนังสือภาพที่ท�ำด้วยผ้าหรือวัสดุหลากหลายสัมผัส หนังสือ ลอยน�้ำ เป็นหนังสือภาพหรือเรื่องสั้นมีเนื้อ เรื่องเกี่ยวกับตัวเด็กหรือครอบครัว หรือสัตว์เลี้ยง รูปเล่มขนาดมือ เด็กจับได้ เป็นนิทานที่เป็นเรื่องราวใกล้ตัว เด็ก เป็นเรื่องในชีวิตจริง เด็กชอบ ฟังค�ำคล้องจอง ค�ำทาย ดังนั้น นิทานควรเป็นนิทานบทร้อยกรอง สั้น ๆ มีภาพประกอบที่มีราย ละเอียดไม่มากนัก มีสีสันสดใส รูปเล่มอาจมีขนาดใหญ่ขึ้นพอมือ เด็กจับ 5. สื่อเทคโนโลยี (สื่อการเรียนรู้ที่ผลิต ใช้ควบคู่กับ โทรทัศน์ เทปบันทึกภาพ) - CD เพลงเน้นเพลงบรรเลง เพลงส�ำหรับเด็ก - งดใช้โทรทัศน์และมือถือ ในเด็กต�่ำกว่า 2 ปี • พัฒนาการและการเจริญเติบโต 1. การประเมินพัฒนาการ ส�ำหรับครู/ผู้ดูแลเด็ก ในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยจะมุ่งเน้นการประเมินพัฒนาการโดยการเฝ้าระวังมากกว่า การคัดกรองพัฒนาการ ซึ่งการติดตามเฝ้าระวังพัฒนาการมีประโยชน์ใน การค้นหาความผิดปกติเพื่อส่งต่อไปยังเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และใช้เป็น สื่อกลางเพื่อให้ค�ำแนะน�ำ ปรึกษา และให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง โดยมี ครอบครัวเป็นศูนย์กลางในการสนับสนุน ส่งเสริมเฝ้าระวังติดตาม พัฒนาการ 5 ด้าน คือ 1. ด้านการเคลื่อนไหว 2. ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก และสติปัญญา 3. ด้านการเข้าใจภาษา 4. ด้านการใช้ภาษา และ 5. ด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม • การเฝ้าระวังพัฒนาการ เป็นการใช้เครื่องมือในการติดตามเฝ้าระวังพัฒนาการในการค้นหาความผิดปกติเพื่อส่งต่อ แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและยังสามารถใช้เป็นสื่อกลางในการให้ค�ำแนะน�ำ ปรึกษาและให้ความ รู้แก่ผู้ปกครองได้ ผู้ที่สามารถท�ำหน้าที่นี้ได้ดีที่สุดคือบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดกับเด็ก ได้แก่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือครู/ผู้ดูแลเด็ก • การคัดกรองพัฒนาการ เป็นการใช้เครื่องมือคัดกรองพัฒนาการที่ได้มาตรฐานเพื่อคัดแยก เด็กที่มีความเสี่ยงหรือมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาพัฒนาการจาก การติดตามเฝ้าระวังพัฒนาการ ไม่ใช่เครื่องมือเพื่อการวินิจฉัยหรือ การวางแผนการรักษา แต่เป็นการคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการแตกต่าง จากเด็กปกติในช่วงอายุหรือวัยเดียวกัน โดยเครื่องมือตรวจคัดกรองพัฒนาการที่ดีต้องมีมาตรฐาน และ จะประเมินคัดกรองโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ผ่านการอบรมการใช้เครื่องมือ ซึ่งในที่นี้จะเน้นการใช้คู่มือ เฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ในช่วงอายุ 9 เดือน 18 เดือน 30 เดือน 42 เดือน 2. การใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ตามแนวทางการใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ผู้ใช้ต้องท�ำความเข้าใจปฏิบัติ เป็นแนวทางเดียวกันจึงจะท�ำให้ผลการประเมินมีความถูกต้องน่าเชื่อถือและเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริม พัฒนาการของเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้ • ขั้นเตรียมความพร้อม 1) การเตรียมตัวผู้ประเมินและส่งเสริมพัฒนาการ ศึกษาทบทวนความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย รวมถึงแนวทางการใช้คู่มือการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ซึ่งมีขั้นตอนย่อยคือ การใช้ทักษะ วิธีการเฝ้าระวัง วิธีการประเมิน เกณฑ์การตัดสินและรายละเอียดของอุปกรณ์ การใช้อุปกรณ์ และ ควรเตรียมค�ำพูดที่จะใช้ในข้อค�ำถาม มีการฝึกก่อนการใช้จริงเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยและความถูกต้อง ในการประเมิน 2) การเตรียมอุปกรณ์ จัดเตรียมอุปกรณ์ให้ครบถ้วนตามหมวดหมู่เรียงล�ำดับการใช้ก่อนหลังโดยอุปกรณ์ เปิดใช้ครั้งละ 1 ชุด ใช้เสร็จแล้วเก็บทันที แล้วจึงเปิดชุดใหม่เพื่อสะดวกแก่การใช้งานและเพื่อให้เด็กมีสมาธิ หรือสนใจในอุปกรณ์เฉพาะที่ใช้ในการประเมินเท่านั้น

RkJQdWJsaXNoZXIy NDQyNzM=