แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กต่ำกว่า 3 ปี

แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและ การเรียนรู้ของเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี กรมอนามัย 36 แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและ การเรียนรู้ของเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี กรมอนามัย 37 3) การเตรียมสถานส�ำหรับประเมินพัฒนาการ ควรเป็นห้องหรือมุมที่เป็นสัดส่วน ไม่คับแคบ อากาศถ่ายเท เพื่อให้เด็กสบาย ไม่หงุดหงิด และให้ความร่วมมือในการประเมิน ไม่มีสิ่งกระตุ้นหรือเร้าความสนใจของเด็ก และอุปกรณ์ต่างๆ ภายในห้องต้องมีความปลอดภัยต่อเด็ก ควรมีการจัดเบาะ โต๊ะ หรือเก้าอี้ต่างๆ ที่ใช้ใน การประเมินในแต่ละช่วงวัยให้เหมาะสม 4) การเตรียมเด็ก เด็กต้องไม่มีความเจ็บป่วยทางกาย ไม่หิว ไม่ง่วงหรืออิ่มจนเกินไป หรือหงุดหงิด งอแง เนื่องจากจะท�ำให้เด็กไม่ให้ความร่วมมือ และควรพาเด็กเข้าห้องน�้ำขับถ่ายให้เรียบร้อยก่อนการประเมิน เพื่อ ไม่ให้ขาดความต่อเนื่องในการประเมิน • ขั้นตอนการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้ประเมินกับเด็กและพ่อแม่ ผู้ปกครอง เด็กแต่ละวัยจะมีพัฒนาการทางร่างกาย ความคิดและอารมณ์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ประเมินควรเข้าใจเด็ก และสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับเด็กก่อนที่จะท�ำการประเมินพัฒนาการ รวมถึงขอความร่วมมือกับผู้ปกครอง ในขณะประเมินพัฒนาการ เพราะฉะนั้น เด็กจะมีอายุจริง ณ วันประเมินพัฒนาการคือ 2 ปี 6 เดือน 5 วัน ตัวอย่าง เด็กเกิดวันที่ 25 กรกฎาคม 2558 หากวันที่นัดมาประเมินพัฒนาการคือ วันที่ 30 มกราคม 2561 เด็กจะมีอายุกี่ปี ณ วันประเมินพัฒนาการ • ขั้นตอนการประเมิน 1) ค�ำนวณ วันเดือนปี ที่ท�ำการประเมิน วิธีการ คือ เอาวันเดือน ปีที่ประเมินเป็นตัวตั้ง ลบด้วย วันเดือน ปีเกิดของเด็ก (หาก จ�ำนวนวันตัวตั้งมีจ�ำนวนน้อยกว่าให้ยืมที่เดือนมา 1 เดือน (30) วัน ถ้าตัวตั้งเดือนน้อยกว่าตัวลบให้ยืมที่ 1 ปี ( 12 เดือน) 2) เริ่มประเมินพัฒนาการจากด้านใดก่อนก็ได้ ที่ตรงกับช่วง อายุจริงของเด็ก โดยใส่เครื่องหมาย ✓ ในช่อง ❑ ผ่าน ในเล่ม คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) เมื่อเด็กประเมินผ่าน 3) ในกรณีที่เด็กประเมินไม่ผ่าน ให้ใส่เครื่องหมาย ✘ ลงในช่อง ❑ ไม่ผ่าน ในเล่มคู่มือเฝ้าระวังและส่ง เสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ส�ำหรับในช่วงที่มี ข้อการการประเมิน 2 ข้อ หรือ 3 ข้อ หากเด็กประเมิน ไม่ผ่าน ข้อใดข้อหนึ่งให้ถือว่าไม่ผ่านในช่วงอายุนั้น 4) ในกรณีที่มีการประเมินเพื่อติดตามพัฒนาการในครั้งต่อไป ให้เริ่มต้นประเมินข้อที่เด็กประเมินไม่ผ่าน ในครั้งที่ผ่านมา หมายเหตุ ; - เมื่อประเมินเด็กในท้องถิ่นที่ใช้ภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ผู้ประเมินจะต้องท�ำความเข้าใจ ใช้ค�ำพูด และ/หรือวัสดุทดแทนที่เหมาะสมในการประเมินเด็ก ปี เดือน วัน วันที่ประเมิน 2560 01 30 วัน เดือน ปี เกิดของเด็ก 2557 07 25 เด็กอายุ 2 06 05 • ขั้นตอนสรุป เมื่อเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กเสร็จแล้วทุกครั้ง ครู/ผู้ดูแลเด็กผู้ประเมินจะต้องสรุปข้อมูลการประเมินให้กับ พยาบาลวิชาชีพ/นักวิชาการ หรือหัวหน้าสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยทราบ 1) กรณีประเมินแล้วพบว่าสมวัย ให้แนะน�ำพ่อแม่ผู้ปกครองส่งเสริมพัฒนาการต่อไปตามคู่มือการเฝ้าระวัง และส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) 2) กรณีที่เด็กประเมินแล้วพบว่าไม่สมวัย ครู/ผู้ดูแลเด็กให้ค�ำแนะน�ำพ่อแม่ผู้ปกครองและท�ำส่งเสริม พัฒนาการเด็ก เช่น การจัดกิจกรรมในห้อง การส่งเสริมตามคู่มือการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ในข้อที่ไม่ผ่านบ่อยๆ หลังจากนั้นอีก 1 เดือน กลับมาประเมินซ�้ำ 3) กรณีประเมินซ�้ำ หลังจากได้รับการกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการแล้วยังไม่สมวัย ต้องให้ข้อมูลแก่ พ่อแม่ผู้ปกครอง ในการส่งต่อเพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมที่โรงพยาบาลพร้อมใบส่งตัว • การประเมินการเจริญเติบโต การประเมินการเจริญเติบโต จะท�ำให้ทราบว่าเด็กได้รับอาหารเพียงพอหรือไม่ ทั้งนี้การเจริญเติบโตของ เด็กแรกเกิด-5 ปี เปลี่ยนแปลงได้ง่าย จึงจ�ำเป็นต้องมีการประเมินการเจริญเติบโตอย่างสม�่ำเสมออย่างน้อย ทุกๆ 3 เดือน เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงการเจริญเติบโต ท�ำให้สามารถส่งเสริมการเจริญเติบโต หรือป้องกัน ไม่ให้เกิดปัญหาโภชนาการด้านขาดและเกิน หรือหากมีปัญหาโภชนาการแล้ว จะได้จัดการแก้ไขได้ทันท่วงที การประเมินการเจริญเติบโตของเด็กในคลินิกเด็กดีจะต้องประกอบด้วย การชั่งน�้ำหนัก การวัดความยาวหรือ ส่วนสูง และการแปลผลแต่ละกิจกรรมและมีการแปลผลตามเกณฑ์กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมี รายละเอียดดังต่อไปนี้ - การชั่งน�้ำหนัก การชั่งน�้ำหนักเด็ก เป็นวิธีการประเมินการเจริญเติบโตของเด็กที่ง่ายที่สุด แต่มักจะผิดพลาดได้ง่าย เป็นผล ให้การแปลผลการเจริญเติบโตคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง การให้ค�ำแนะน�ำไม่ตรงกับภาวะการเจริญเติบโต ของเด็ก ดังนั้นจึงต้องให้ความส�ำคัญกับการชั่งน�้ำหนักดังนี้ 1) การเตรียมเครื่องชั่งน�้ำหนัก เครื่องชั่งน�้ำหนักเด็ก เป็นปัจจัยแรกที่ท�ำให้เกิดความคลาดเคลื่อนของน�้ำหนักตัวเด็กได้จึงต้อง มีการเตรียมเครื่องชั่งน�้ำหนักให้เหมาะสมกับอายุเด็ก มีมาตรฐาน รวมทั้งการวางเครื่องชั่งน�้ำหนัก มีรายละเอียดดังนี้ 1. เครื่องชั่งน�้ำหนักส�ำหรับเด็กแรกเกิด-5 ปีต้องมีสเกลบอกค่าน�้ำหนักได้ละเอียด 100 กรัม (0.1 กิโลกรัม) หรือแบ่งย่อยเป็น 10 ขีดใน 1 กิโลกรัม ซึ่งพบในเครื่องชั่งน�้ำหนักแบบดิจิตอลหรือ ตัวเลขน�้ำหนักจะเปลี่ยนแปลงทีละ 0.1 กิโลกรัม เช่น 10.1, 10.2, 10.3 เป็นต้นส่วนเครื่องชั่งน�้ำหนัก แบบเข็ม มีสเกลบอกค่าน�้ำหนักได้ละเอียดเพียง 500 กรัม (0.5 กิโลกรัม) จึงไม่เหมาะสมที่จะใช้กับ เด็กปฐมวัย 2. วางเครื่องชั่งลงบนพื้นราบ ไม่เอียง และมีแสงสว่างเพียงพอส�ำหรับการอ่านตัวเลข 3. ตรวจสอบความเที่ยงตรงของเครื่องชั่งน�้ำหนัก ต้องตรวจสอบก่อนน�ำมาใช้ทุกครั้งโดยการน�ำ ลูกตุ้มน�้ำหนักมาตรฐานซึ่งบอกขนาดน�้ำหนัก เช่น 5 กิโลกรัม หรือ 10 กิโลกรัม เป็นต้น หรือสิ่งของ ที่รู้น�้ำหนัก เช่น ดัมเบล มาวางบนเครื่องชั่งน�้ำหนัก เพื่อดูความเที่ยงตรงของเครื่องชั่ง น�้ำหนักว่า ได้น�้ำหนักตามน�้ำหนักลูกตุ้มหรือสิ่งของนั้นหรือไม่

RkJQdWJsaXNoZXIy NDQyNzM=