แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กต่ำกว่า 3 ปี

ในการดูแลเด็กอายุ 3 เดือน - 3 ปี (Care) มีความส�ำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา อย่างเป็นองค์รวม การส่งเสริมพัฒนาการอย่างรอบด้านในเด็กวัยนี้ จึงเป็นสิ่งส�ำคัญใน การวางรากฐานส�ำหรับการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสมองและร่างกาย รวมถึงสมรรถนะในการเรียนรู้ตลอด ช่วงชีวิต ซึ่งเด็กในช่วงวัยนี้มีความต้องการในการดูแลอย่างใกล้ชิดเนื่องจากพฤติกรรมทางด้านพัฒนาการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงเด็กแต่ละคนจะมีพื้นอารมณ์ที่แตกต่างกัน ท�ำให้พฤติกรรมที่แสดงออกมา มีอย่างหลากหลาย ท�ำให้ผู้ดูแลต้องเอาใจใส่ สังเกต ให้รู้จักเด็กแต่ละคน ซึ่งเด็กในวัยนี้จะเรียนรู้ ได้ดีจาก ปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่ ผู้ปกครองที่ใกล้ชิด เรียนรู้จากประสาทสัมผัส ประสบการณ์ในกิจวัตรประจ�ำวันและ กิจกรรมการเล่นที่เหมาะสมกับช่วงวัย รวมถึงการเฝ้าระวัง ส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการให้เหมาะสมตาม ล�ำดับขั้นตอนของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กอย่างใกล้ชิด ในปี พ.ศ.2558 กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดท�ำโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ สมเด็จพระเทพฯ ซึ่งเป็นการ มุ่งเน้นให้พ่อแม่ผู้ปกครองรวมถึงครู/ผู้เลี้ยงดูเด็กสามารถเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ได้เหมาะ สมตามช่วงวัย กลุ่มเป้าหมายคือ เด็กอายุแรกเกิด – 5 ปี โดยใช้คู่มือการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ปฐมวัย (DSPM) เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ซึ่งคู่มือ DSPM เป็นความร่วมมือของกรมวิชาการ ในสังกัดกระทรวง สาธารณสุขร่ วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความส�ำคัญยิ่ง ซึ่งได้ แก่ ท่ านอาจารย์ .นพ.วัลลภ ไทยเหนือ พญ.ศิริพร กัญชนะ พญ.นิตยา คชภักดี และ พญ.ศิริกุล อิศรานุรักษ์ ทั้งนี้กระบวนการคัดกรองตามช่วงวัยของ คู่มือ DSPM จะท�ำให้ค้นพบเด็กที่สงสัยว่าจะมีพัฒนาการล่าช้าตั้งแต่แรกเริ่ม คือ ช่วงอายุ 9 เดือน 1 ปีครึ่ง 2 ปีครึ่ง 3 ปีครึ่ง เพื่อจะได้แนะน�ำพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดู ในการให้โอกาสเด็กได้เรียนรู้และฝึกกิจกรรมพัฒนาการ พบว่าได้ผลดีถึงร้อยละ 90 ดังนั้นการน�ำสาระและแนวทางปฏิบัติจากคู่มือ DSPM มาใช้ในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยโดยให้ครู/ผู้ดูแล เด็ก ร่วมกับพ่อแม่ผู้ปกครองได้ปฏิบัติต่อเด็กและดูแลโดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส�ำคัญผ่าน กระบวนการกิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน ซึ่งการใช้แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและ การเรียนรู้ของเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี เป็นการเพิ่มคุณภาพงานบริการของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ส�ำหรับเด็ก ทั่วไปจะท�ำให้เด็กมีความก้าวหน้าของพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ส่วนเด็กที่ขาดโอกาสจะได้รับการค้นพบและ ช่วยเหลือตั้งแต่แรกเริ่มในช่วงที่สมองเติบโตอย่างรวดเร็วและปรับแต่งได้ จึงเป็นการลดปัญหาเด็กที่มีพัฒนาการ ล่าช้าและเพิ่มโอกาสให้เด็กได้พัฒนาเต็มศักยภาพ ประเทศไทยได้มีการก�ำหนดมาตรฐานในการประเมินศูนย์เด็กเล็กทุกแห่งโดยใช้ “มาตรฐานสถานพัฒนา เด็กปฐมวัยแห่งชาติ” ซึ่งทุกสังกัดจะใช้ร่วมกันในการพัฒนาคุณภาพศูนย์เด็กเล็กทั่วประเทศ โดยตัวบ่งชี้ที่ ส�ำคัญคือ ตัวที่ 2 : การดูแล และกระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย คู่มือนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อครู/ผู้ดูแลเด็ก ที่จะน�ำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของสังคม วัฒนธรรม ในแต่ละพื้นที่ต่อไป รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนิตยา คชภักดี ที่ปรึกษา อฝส. กุมารสาขาพัฒนาการและพฤติกรรม ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ค�ำนิยม แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กอายุต�่ำ กว่า 3 ปี จัดท�ำขึ้นเพื่อให้ครู/ผู้ดูแลเด็กในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ใช้เป็นแนวทาง ในการปฏิบัติงานโดยได้จัดท�ำภายใต้ทฤษฎีและหลักการในการส่งเสริมพัฒนาเด็ก ปฐมวัยให้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สมรรถนะ เด็กปฐมวัยและคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) พร้อม น�ำตัวอย่างและรูปแบบการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กแบบองค์รวมผ่าน แนวคิด กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ส�ำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ และอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก รองศาตราจารย์แพทย์หญิงนิตยา คชภักดี หวังเป็นอย่างยิ่งว่าแนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของ เด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี จะเป็นประโยชน์ในการปฎิบัติงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม คณะผู้จัดท�ำ ค�ำน�ำ

RkJQdWJsaXNoZXIy NDQyNzM=