แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กต่ำกว่า 3 ปี

แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและ การเรียนรู้ของเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี กรมอนามัย 40 แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและ การเรียนรู้ของเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี กรมอนามัย 41 - เครื่องวัดส่วนสูง ใช้กับเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป เป็นลักษณะให้เด็กยืนวัด การติดตั้งต้องติดตั้งให้ถูกต้อง โดยวางทาบกับผนังหรือเสาที่ตั้งฉากกับพื้น ยึดให้แน่นไม่โยกเยก ไม่เอียง และบริเวณที่ เด็กยืน พื้นต้องเรียบได้ระดับ ไม่เอียงไม่นูนและมีไม้ฉากส�ำหรับวัดค่าส่วนสูง เครื่องวัด ส่วนสูงที่เป็นแผ่นกระดาษหรือ พลาสติกหรือโฟม มักใช้กับเด็กปฐมวัย เช่น ศูนย์เด็ก เล็กการต้องติดตั้งต้องท�ำอย่างระมัดระวัง เนื่องจากตัวเลขเริ่มต้นของแผ่นวัดความสูง ไม่เท่ากัน บางแผ่นเริ่มต้นที่ 50 เซนติเมตร บางแผ่นเริ่มต้นที่ 60 เซนติเมตร จึงต้องวัด ระยะที่ติดตั้งสูงจากพื้นตามตัวเลขที่ก�ำหนดบนแผ่นวัดส่ วนสูง เช่น เริ่มต้นที่ 50 เซนติเมตร การติดตั้งต้องสูงจากพื้นที่ 50 เซนติเมตรเช่นกัน 1) วิธีการวัดส่วนสูง เด็กอายุมากกว่า 2 ปี วัดความสูงของเด็กในท่ายืนเรียกว่า วัดความสูงหรือส่วนสูง มี วิธีการ ดังนี้ 1. เด็กผู้หญิง ถ้ามีกิ๊บ ที่คาดผม หรือมัดผม ควรน�ำออกก่อน 2. ถอดรองเท้า ถุงเท้าออก 3. ยืนบนพื้นราบ เท้าชิด ยืนตัวขึ้นไปข้างบนให้เต็มที่ ไม่งอเข่า 4. ส้นเท้า หลัง ก้น ไหล่ศีรษะสัมผัสกับไม้วัด 5. ตามองตรงไปข้างหน้า ศีรษะไม่เอียงซ้าย-เอียงขวา ไม่แหงนหน้าขึ้นหรือ ก้มหน้าลง 6. ผู้วัดประคองหน้าให้ตรง ไม่ให้แหงนหน้าขึ้น หรือก้มหน้าลง หน้าไม่เอียง 7. ใช้ไม้ฉากในการอ่านค่าส่วนสูง โดยเลื่อนไม่ฉากให้สัมผัสกับศีรษะพอดี 8. อ่ านตัวเลขให้อยู่ ในระดับสายตาผู้ วัด โดยอ่ านค่ าส่ วนสูงให้ละเอียด ถึง 0.1 เซนติเมตร เช่น 118.4 เซนติเมตร ข้อควรระวัง ในการวัดส่วนสูงต้องมีไม้ฉากส�ำหรับวางทาบที่ศีรษะ เพื่ออ่านค่าส่วนสูง หากใช้ไม้บรรทัดหรือ สมุดหรือกระดาษแข็ง มาทาบที่ศีรษะเด็ก จะท�ำให้การอ่านค่าไม่ถูกต้องคลาดเคลื่อนได้ทั้งนี้ไม้ฉากตรงส่วนที่ สัมผัสกับศีรษะนั้น ต้องมีขนาดกว้างพอสมควร ประมาณ 5 เซนติเมตร เพื่อให้ทาบบนศีรษะส่วนที่นูนที่สุด แต่ ถ้าเล็กไปอาจ ไม่ตรงส่วนที่นูนที่สุดของศีรษะ - การแปลผล เมื่อทราบน�้ำหนักและส่วนสูงของเด็กแล้ว ข้อมูลอื่นที่ต้องใช้ในการแปลผลคือ อายุ เพศ และมาตรฐาน น�้ำหนัก ส่วนสูง ทั้งนี้เด็กแรกเกิด-5 ปี แปลผลโดยใช้ 3 ดัชนีได้แก่ น�้ำหนักตามเกณฑ์อายุส่วนสูงตามเกณฑ์ อายุและน�้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง แยกเพศชาย-หญิง (อ้างตามกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข) 1) ภาวะการเจริญเติบโตของเด็ก 1. การใช้กราฟน�้ำหนักตามเกณฑ์อายุ เป็นการน�ำน�้ำหนักมาเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานของเด็กที่มีอายุเดียวกัน ใช้ดูการเจริญเติบโตโดยรวม แต่ไม่ได้บอกชัดเจนว่าเด็กมีลักษณะของการเจริญเติบโตเป็นแบบใด กราฟน�้ำหนักตามเกณฑ์อายุ จะไม่น�ำมา ใช้ในการประเมินภาวะอ้วนของเด็ก ที่วัดส่วนสูง 100 110 120 130 140 150 160 170 180 90 80 70 60 50 2. การใช้กราฟส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ เป็นการน�ำความยาวหรือส่วนสูงมาเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานของเด็กที่มีอายุเดียวกันใช้ดูการเจริญเติบโต ได้ดีที่สุด และบอกลักษณะของการเจริญเติบโตได้ว่าสูงหรือเตี้ย 3. การใช้กราฟน�้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง เป็นการน�ำน�้ำหนักเทียบกับมาตรฐานที่ส่วนสูงเดียวกัน ใช้ดูลักษณะการเจริญเติบโตว่าเด็กมีน�้ำหนัก เหมาะสมกับส่วนสูงหรือไม่ เพื่อบอกว่าเด็กมีรูปร่างสมส่วน อ้วน หรือผอม * อ้างอิง กราฟการเจริญเติบโต ส�ำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข - แนวโน้มการเจริญเติบโตของเด็ก 1. การจุดน�้ำหนักและส่วนสูงบนกราฟการเจริญเติบโตของเด็ก เป็น ขั้นตอนที่มีความส�ำคัญอย่างมาก เนื่องจากกราฟการเจริญเติบโตของเด็ก เป็นเครื่องมือที่ใช้ติดตามการเจริญเติบโตของเด็กเป็นรายบุคคลเพื่อดูว่ามี แนวโน้มการเจริญเติบโตที่สอดคล้องกับมาตรฐานหรือไม่ หากเด็กมีภาวะ การเจริญเติบโตอยู่ในเกณฑ์ดีแต่แนวโน้มการเจริญเติบโตไม่ดีท�ำให้สามารถ แก้ ไขได้ทันก่อนที่เด็กจะเข้าสู่ภาวะเสี่ยงต่อการขาดอาหารหรือเสี่ยงต่อ ภาวะอ้วน และถ้าไม่ด�ำเนินการป้องกัน เด็กจะเข้าสู่ภาวะการเจริญเติบโต ด้านขาดหรือเกินในที่สุด 2. วิธีการที่จะเห็นแนวโน้มการเจริญเติบโตของเด็ก คือ จุดน�้ำหนักและ ส่วนสูงลงในกราฟแต่ละครั้งที่ชั่งน�้ำหนัก-วัดส่วนสูง แล้วเชื่อมโยงจุดน�้ำหนัก และส่วนสูงแต่ละจุดซึ่งจะทราบทั้งภาวะการเจริญ เติบโตและแนวโน้มการ เจริญเติบโตของเด็ก ท�ำให้ง่ ายต่อการติดตามการเปลี่ยนแปลงการ เจริญเติบโตของเด็กว่าเป็นไปในอัตราที่เหมาะสมหรือไม่คูมือแนวทางการ ดําเนินงานสงเสริมสุขภาพดานโภชนาการ ในคลินิกเด็กสุขภาพดี สําหรับ บุคลากรสาธารณสุข - การวัดเส้นรอบศีรษะ มีความส�ำคัญในการติดตาม การเจริญเติบโตของสมอง ในเด็กที่มีเส้นรอบศีรษะเล็กกว่าปกติ เมื่อเปรียบเทียบกับวัยอาจแสดงถึงความปกติของสมอง เช่น สมองเล็กกว่าปกติหรือกะโหลกศีรษะเชื่อมเร็วกว่าปกติ ซึ่งหาก วินิจฉัยได้เร็วและส่งต่อเด็กไปรับการรักษาทันท่วงที อาจช่วยแก้ไข ความพิการนี้ได้ ในท�ำนองเดียวกันถ้าเส้นรอบศีรษะวัดได้มากกว่า ปกติเมื่อเปรียบเทียบกับวัยเด็ก ซึ่งแสดงถึง เด็กมีหัวโตกว่าปกติ อาจเกิดจากมีน�้ำในสมองมากกว่าปกติ โรคนี้หากวินิจฉัยได้เร็วและ เด็กได้รับการรักษาทันท่วงทีก็จะช่วยแก้ ไขเป็นปกติได้เช่นกัน จึงควรวัดเส้นรอบศีรษะในเด็กอายุต�่ำกว่า ๒ ปี ทุกครั้งที่รับบริการตรวจสุขภาพ

RkJQdWJsaXNoZXIy NDQyNzM=