แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กต่ำกว่า 3 ปี

แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและ การเรียนรู้ของเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี กรมอนามัย 8 แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและ การเรียนรู้ของเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี กรมอนามัย 9 สภาพสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงไปท�ำให้ผู้ปกครองส่วนใหญ่ ไม่มีเวลาที่จะเลี้ยงดูบุตรหลานด้วยตนเอง จึงน�ำบุตรหลานไปฝากเลี้ยงที่ศูนย์เด็กเล็ก (Nursery/Day care) จากข้อมูลส�ำนักงาน สถิติแห่งชาติ ประจ�ำปี 2558 ได้ระบุจ�ำนวน เด็กก่ อนวัยเ รียนที่มีอายุต�่ ำกว่ า 5 ปี มีประมาณ 4 ล้านคน ซึ่งอยู่ในการดูแลของ ผู้ ปกครองและสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย (ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก) และจากสถิติข้อมูล ของส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ประจ�ำปี 2557 พบว่า สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยทั่วประเทศ ที่สังกัดทุกกระทรวง/หน่วยงานทั่วประเทศ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน รวมถึงเอกชน มีจ�ำนวนมากกว่า 40,000 แห่ง แต่ละแห่งมีการบริหารจัดการภายในที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับแนวทางของ หน่วยงานและสังกัดนั้นๆ ท�ำให้คุณภาพการท�ำงานรวมถึงคุณภาพของเด็กแตกต่างกันไปด้วย การด�ำเนินงานในศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย ผู้ที่มีบทบาทส�ำคัญที่สุดคือ ครู/ผู้ดูแลเด็ก เป็นช่วงเวลาที่ผู้ปกครองน�ำมาฝากเลี้ยงประมาณ 6-8 ชั่วโมง หากได้รับการอบรมเลี้ยง ดูจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็กและการเรียนรู้ที่ดีจะเป็นส่วนที่ส�ำคัญในการส่งเสริม พัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และเนื่องจากอายุของเด็กที่เข้ารับ บริการในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย มีอายุแรกรับที่น้อยลง คือ ต�่ำกว่า 3 ปี การดูแลเด็ก กลุ่มนี้จ�ำเป็นต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ครู/ผู้ดูแลเด็กต้องมีความรู้ความเข้าใจวิธีกาอบรม เลี้ยงดูเด็กเนื่องจากเด็กยังไม่สามารถช่วยเหลือตนเองหรือสื่อสารความต้องการ ได้มากเท่ากับเด็กโต กรมอนามัย จึงได้จัดท�ำแนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและการ เรียนรู้ของเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี เพื่อให้ครู/ผู้ดูแลเด็กใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริม พัฒนาการผ่านการดูแลและจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่เหมาะสมกับพัฒนาการ ผลลัพธ์ ที่ส�ำคัญที่มุ่งหวังคือ เด็กมีพัฒนาการสมวัยและเติบโตอย่างมีคุณภาพ 1.1 กรอบแนวคิดการดูแลเด็กในบริบทที่แวดล้อมตัวเด็ก ทฤษฎีของบรอนเฟนเบนเนอร์ (Bronfenbrenne’s ecological systems theory) ได้เสนอแนวคิดใน การเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมได้ระบุถึง 4 ระบบในสภาพแวดล้อมรอบตัว เด็ก คือ ระบบจุลภาค เป็นสิ่งแวดล้อมที่ใกล้ชิดกับตัวเด็กที่สุดและให้ประสบการณ์โดยตรงต่อเด็ก เช่น ครอบครัว เพื่อน สนามเด็กเล่น ห้องเรียน ระบบบริการสุขภาพ เป็นต้น ระบบปฎิสัมพันธ์ เป็นระบบสิ่งแวดล้อมที่เชื่อมโยงระบบจุลภาคต่างๆ ให้มีปฎิสัมพันธ์กัน เช่น ครอบครัว กับโรงเรียน ครอบครัวกับระบบบริการสุขภาพ เพื่อนกับห้องเรียน เป็นต้น ระบบภายนอก เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกซึ่งส่งผลโดยตรงต่อเด็ก เช่น เพื่อนบ้าน เทคโนโลยีสื่อสาร สถานที่ทํางาน สถานะภาพของบิดามารดา เป็นต้น ระบบมหภาค คือ ระบบใหญ่ที่สุดของสังคมซึ่งเป็นที่รวมทุกระบบที่กล่าวมานั้นมีความเกี่ยวเนื่องกัน เป็นวัฒนธรรมใหญ่และวัฒนธรรมย่อยของสังคม ที่ประกอบไปด้วย บทบาท มาตรฐานของ สังคมและหน้าที่ เกิดทัศนคติและจารีต ที่มีผลต่อการสืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง ซึ่งจากทฤษฏีจะเห็นได้ว่าปัจจัยที่ แวดล้อมเด็ก ล้วนแต่ส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน การที่เด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ต่างกันทําให้เด็กมีพัฒนาการที่ แตกต่างกันไปทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม จากกรอบแนวคิดดังกล่าวจะเห็นได้ว่าเด็กในช่วงต�่ำกว่า 3 ปี พ่อแม่ ผู้ปกครอง รวมถึงครู/ผู้ดูแลเด็ก จะต้องให้ ความสนใจกับสิ่งแวดล้อมที่ใกล้ชิดกับตัวเด็กที่สุดและให้ประสบการณ์โดยตรงต่อเด็ก คือในส่วนของระบบ จุลภาค ซึ่งได้แก่ ครอบครัว ศูนย์บริการรับเลี้ยงเด็ก/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และระบบบริการสุขภาพ ดังนั้น เนื้อหาในเล่มนี้จึงเป็นการเชื่อมโยงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเด็กผ่านระบบที่ใกล้ตัวเด็กมากที่สุด เพื่อให้ ผู้ที่ใกล้ชิดเด็กมีแนวทางการอบรมเลี้ยงดู มีแนวปฏิบัติการในการดูแลและจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนา เด็กอายุต�่ำกว่ า 3 ปี รวมถึงแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่ วมในการด�ำเนินงานของสถานพัฒนา เด็กปฐมวัย สามารถอบรมเลี้ยงดู และจัดประสบการณ์ส�ำคัญตามวัยได้อย่างเหมาะสมและเป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพ รูปที่ 1 : Bronfenbrener’s ecological system theory ตอนที่ 1 แนวคิดและความเข้าใจเกี่ยวกับ เด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี สภาพสังคม ประเพณี วัฒนธรรมที่เด็กอยู่ เพศ ญาติ สนามเด็กเล่น สถานพัฒนา เด็กปฐมวัย โรงเรียน ครอบครัว สถานที่ท�ำงาน สถานบริการสุขภาพ กฏหมาย (เพื่อน/เพื่อนบ้าน) สื่อต่างๆ เพื่อน เด็ก

RkJQdWJsaXNoZXIy NDQyNzM=