คู่มือเยี่ยมบ้าน
15 การช่วยเหลือจากคนรอบข้างที่อยู่ใกล้ชิดแม่ จะเป็นปัจจัยส�ำคัญที่ท�ำให้การเลี้ยงดูลูกมีคุณภาพที่ดี แม่ที่มีภาวะ ความเครียดสะสม หรือเสียงเป็นภาวะซึมเศร้ามักจะแยกตัวออกห่าง หลีกเลี่ยงการพูดคุยพบปะ หรือการ มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ท�ำให้ความสัมพันธ์ห่างเหินกันมากขึ้น หากแม่ไม่มีคนรอบข้างที่จะช่วยสนับสนุน ในการดูแลตัวเองและลูกแล้ว อาจก่อความเครียดสะสมจนส่งผลกระทบต่อการดูแลลูกที่ดีได้ เมื่อแม่รู้สึกตัวว่าเหนื่อย วิตกกังวล หรือไม่สบายใจกับเหตุการณ์บางอย่างที่เกิดขึ้น สนับสนุนให้แม่ได้พูดคุย บอกเล่าเรื่องราวที่ไม่สบายใจกับคนรอบข้าง เพื่อให้บุคคลเหล่านี้มีส่วนช่วยเหลือแม่ให้ผ่านเหตุการณ์ที่รู้สึกไม่ดี ไปได้ไม่จ�ำเป็นที่แม่จะต้องเผชิญปัญหาตามล�ำพัง เพื่อให้แม่สามารถดูแลลูกได้ดีต่อไป 3) หลักการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับลูก 3.1 ความใกล้ชิดระหว่างแม่และลูก ความใกล้ชิดระหว่างแม่และลูก เริ่มต้นจากการสัมผัสที่อ่อนโยน การกอด การมองหน้าสบตา หรือมี ปฏิสัมพันธ์ร่วมกันผ่านกิจกรรมใดก็ได้ในชีวิตประจ�ำวัน เช่น การให้นม การรับประธานอาหารร่วมกัน การท�ำกิจวัตรประจ�ำวัน อาบน�ำแต่งตัว การเล่านิทาน เป็นต้น และขอเน้นย�ำว่า ในช่วงเดือนแรกไม่ควรเปลี่ยน ผู้เลี้ยงดูบ่อย หรือมีผู้เลี้ยงหลายคน ควรมีผู้เลี้ยงหลักเพียงคนเดียว 3.2 ความไวในการรับรู้ถึงความรู้สึกและความต้องการของลูก มีความส�ำคัญอย่างมากในช่วงขวบปีแรก เนื่องจากเด็กยังสื่อสารความต้องการเป็นค�ำพูดไม่ได้ การที่แม่รับรู้ความต้องการได้เร็ว ก็จะส่งผลให้ตอบสนองได้เร็ว และส่งผลให้เด็กรู้สึกได้รับการดูแล รู้สึกปลอดภัย มั่นคงในจิตใจ 3.3 การตอบสนองต่อลูก แม่ควรสังเกตพฤติกรรม ท่าทาง การแสดงออกของลูกว่าต้องการสื่อสารอะไร และพยายามแปล การแสดงออกนั้น โดยเฉพาะเด็กเล็กที่ยังพูดไม่ได้ อาศัยการสังเกตสีหน้า ท่าทาง จดจ�ำท่าทางเหล่านั้นแล้ว ตอบสนองทันที อย่างถูกต้อง และสม�ำเสมอ การตอบสนองที่เหมาะสมมีความส�ำคัญมาก โดยมีหลักการกว้างๆ ดังนี้ เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน เด็กแต่ละคนมีนิสัยใจคอ ความชอบที่แตกต่างกัน เหมาะสมกับพัฒนาการ เด็กแต่ละวัยมีความต้องการให้แม่ตอบสนองแตกต่างกัน เหมาะกับสถานการณ์ ให้อิสระในการเรียนรู้ผ่านสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจ�ำวันของลูก อาทิ • เมื่อเด็กต้องการเล่น ไม่ห้ามหรือกังวลเกินไป จนท�ำให้เด็กกลัว • เมื่อเด็กกลัว แม่ตอบสนองด้วยความรัก การเอาใจใส่ ด้วยการโอบกอดลูก ให้เกิดความมั่นใจ • เมื่อเด็กหิว พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูควรหาน�ำ หาอาหารให้ลูกรับประทาน • เมื่อเด็กต้องการก�ำลังใจ แม่พยักหน้ายิ้ม ให้ก�ำลังใจ ส่งเสียงเชียร์ • เมื่อเด็กเหนื่อย ง่วง แม่อุ้ม ร้องเพลงกล่อมนอน ** ไม่ใช้อารมณ์ ไม่ใช้ความรุนแรงทั้งกายและวาจา ในการตอบสนองลูก **
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NDQyNzM=