คู่มือเยี่ยมบ้าน

26 ปัจจัยที่อาจท�ำให้แม่หลังคลอดมีความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าหลังคลอด • มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ และ/ หรือระหว่างการคลอด • การคลอดจ�ำเป็นต้องใช้วิธีการพิเศษ หรือมีการเจ็บปวด หรือใช้เวลามากกว่าที่คาดไว้ • ลูกคลอดก่อนก�ำหนดหรือเกินก�ำหนด โดยเฉพาะในกรณีที่คลอดก่อนก�ำหนดมากและลูกจ�ำเป็นต้องได้รับ การดูแลอย่างใกล้ชิดในไอซียู (ICU) • รู้สึกว่าไม่ได้รับความช่วยเหลือจากคนรอบข้างในระหว่างการคลอด • คลอดลูกมากกว่า 1 คน • ลูกที่คลอดมามีปัญหาสุขภาพ หรือแม่ไม่ได้รู้สึกผูกพันกับลูกในทันทีที่เห็นลูก ผลของภาวะซึมเศร้าของแม่ต่อพัฒนาการของลูก มีการศึกษาพบว่า ความเครียดของแม่มีผลกระทบต่อการสร้างสัมพันธภาพและพัฒนาการของลูก หลายด้าน อาทิ • ผลกระทบต่อการสร้างสัมพันธภาพและความผูกพันระหว่างแม่กับลูก ท�ำให้เด็กมีความรู้สึกไม่มั่นคงต่อแม่ ซึ่งจะเป็นความเสี่ยงต่อปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็กต่อไป • เสี่ยงต่อปัญหาพฤติกรรม เช่น อาการซน อยู่ไม่นิ่ง ก้าวร้าว อารมณ์รุนแรง • เสี่ยงต่อการมีระดับสติปัญญาที่ต�ำกว่าเกณฑ์ • เสี่ยงต่อปัญหาการเรียนและการเข้าสังคม ฉะนั้นการสร้างสุขภาพที่ดีของแม่และลูก เริ่มต้นจากสุขภาพที่ดีของแม่ โดยค�ำว่า ‘สุขภาพ’ มีความหมาย ครอบคลุมทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต หากแม่มีสุขภาพที่แข็งแรง อารมณ์ที่แจ่มใส มีครอบครัวคอยสนับสนุน และเป็นก�ำลังใจ ย่อมส่งผลดีต่อสุขภาพและพัฒนาการของเด็ก เรื่องที่ 2 โภชนาการในหญิงตั้งครรภ์ เพื่อลูกมี น�ำหนักแรกเกิด มากกว่า 2,500 กรัม ดื่มนมรสจืดทุกวัน วันละ 2-3 แก้ว (1 แก้ว ขนาด 200 ซีซี) โยเกิร์ต 1 ถ้วยครึ่ง ปลาเล็กปลาน้อย 2 ช้อนกินข้าว เต้าหู้แข็ง 4 ช้อนกินข้าว กินปลามื้อละ 4 ช้อนกินข้าว อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง กินไข่วันละ 1 ฟอง กินตับมื้อละ 4 ช้อนกินข้าว สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง อาจเลือกอาหารแทนนม 1 แก้ว เช่น กินปลา ตับ ไข่ ลูกสมองดี ดื่มนม ลูกสูงดี

RkJQdWJsaXNoZXIy NDQyNzM=