คู่มือเยี่ยมบ้าน
1 รัฐบาลให้ความส�ำคัญต่อการพัฒนา “คน” ให้มีความพร้อมในการด�ำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้คนไทย ในอนาคตเป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมีแบบแผน โดยจัดให้มีระบบการพัฒนา เด็กปฐมวัย (อายุ0-5 ปี) ซึ่งเป็นวัยฐานรากของชีวิตที่จะส่งผลต่อพัฒนา “คน” ในช่วงวัยต่อๆ ไปเพื่อให้เด็ก มีพัฒนาการสมวัยพร้อมเรียนรู้ ซึ่งจากการส�ำรวจสถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัย ครั้งที่ 6 ปี พ.ศ. 2560 ด้วยเครื่องมือ Denver II พบเด็กมีพัฒนาการสมวัยรวมทุกด้าน ร้อยละ 67.5 ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็กจาก ภาวะทุพโภชนาการของมารดาช่วงตั้งครรภ์ ภาวะทุพโภชนาการของเด็ก พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กของครอบครัว การศึกษา อาชีพและรายได้ของครอบครัวและสภาพแวดล้อมด้านสังคม (จินตนา พัฒนพงศ์ธร และวันวิสาห์ แก้วแข็งขัน, 2561) นอกจากนี้จากข้อมูลศูนย์ปฏิบัติการโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็ก พบว่ามี แม่ที่รับเงินอุดหนุนฯ ว่างงาน ร้อยละ 67.08 แม่เลี้ยงเดี่ยวร้อยละ 29.31 แม่วัยใส ร้อยละ 21.67 ซึ่งปัญหาดังกล่าว ล้วนแล้วส่งผลต่อการพัฒนาการเด็ก ความส�ำคัญการพัฒนาระบบการดูแลและป้องกันภาวะซึมเศร้าในมารดา เพื่อลูกรักพัฒนาการสมวัยพร้อมเรียนรู้ การศึกษาวิจัยด้านพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็ก พบว่าการกระตุ้นและการรับสัมผัสความรู้สึกจากแม่ ก่อเกิด พัฒนาการทางด้านต่างๆ ของบุตร (Beck & Driscoll, 2006) ทั้งนี้ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในแม่จะเป็นปัจจัย ขัดขวางต่อการเลี้ยงดูเด็กขาดการกระตุ้นและการสัมผัสที่อบอุ่น และภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในแม่มีอิทธิพล ในระดับปานกลางถึงระดับสูง ต่อการสร้างสัมพันธภาพระหว่างแม่และทารกในช่วง 1 ปีแรกหลังคลอด (Beck, 1995) จากการศึกษายัง พบว่าแม่ที่มีภาวะซึมเศร้าที่ระยะ 4, 6 สัปดาห์ และ 4 เดือนหลังคลอด มีความสัมพันธ์กับ คะแนนสัมพันธภาพระหว่างแม่ ทารกในระดับต�ำ ในระยะ 14 เดือนหลังคลอด (Moehler, Brunner, Wiebel, Reck, & Resch, 2006) อีกทั้งแม่จะแสดงพฤติกรรมด้านบวกกับบุตรน้อยลง และแสดงพฤติกรรมทางด้านลบต่อบุตร มากกว่า เช่น การแสดงอารมณ์ ปฏิกิริยาการพูดและการเล่นกับบุตร (Foster, Garber, & Durlak, 2008; Reck et al, 2004 ; Righetti-Veltema, Bousquet, & Manzano, 2003) ส่งผลให้การตอบสนองระหว่างแม่และบุตร ไม่มีความสอดคล้องกัน อันเป็นสาเหตุต่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของลูกเป็นไปอย่างล่าช้าหรือมีความผิดปกติ (Dave, Sherr, Senior, & Nazareth, 2008 ; DiPietro, Novak, Costigan, Atella , & Reusing, 2006; Hay et al, 2001) และการมีความสัมพันธ์ทางด้านบวกต่อความคิดของแม่ที่จะท�ำร้ายบุตร (Child harming thoughts) ทั้งทางด้านความถี่และความรุนแรง (Humenik & Fingerhut, 2007) และการส�ำรวจภาวะซึมเศร้าของแม่ หลังคลอดประเทศไทยพบร้อยละ 9.50 (กมลรัตน์ วัชราภรณ์ จารุรินทร์ ปิตานุพงศ์, 2546) ซึ่งแม่ที่มีภาวะซึมเศร้า จะส่งผลกระทบต่อการมีปฏิสัมพันธ์และการเลี้ยงดูเด็ก อันเป็นผลต่อปัญหาพัฒนาการไม่สมวัยของเด็กปฐมวัย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NDQyNzM=