คู่มือแผนการเรียนการสอนเลี้ยงดูลูกตาม"คำสอนพ่อ"

18 ระยะที่ 1 เริ่มต้น ระยะที่ 2 พัฒนา กิจกรรมการเรียนรู้โครงการ “เล่น (play) ม้าก้านกล้วยแสนสนุก” วันที่ 1 เลือกเรื่องที่นักเรียนสนใจอยากศึกษา ครูและเด็กๆ สนทนาซักถาม และร่วมคิดเป็นกลุ่ม ครูกระตุ้น ให้เด็กๆ ช่วยกันคิดหัวข้อ และให้นักเรียนเสนอความคิด ครูบันทึกบนกระดาน และเขียนผังความคิดในเรื่องที่ เด็กสนใจเกี่ยวกับของเล่นที่เด็กๆ รู้จักและเคยเห็น หลังจากที่เด็กๆ ได้พูดคุยกันแล้ว ครูกระตุ้นให้เด็กก�ำหนด ข้อตกลงว่าจะเล่น (Play) อะไร พร้อมสรุปให้เด็กๆ ทราบข้อตกลงว่าจะเล่นม้าก้านกล้วย วันที่ 2 ครูกระตุ้นให้เด็กคิด โดยใช้การตั้งค�ำถาม ค�ำตอบกับเด็กๆ พูดคุยเกี่ยวกับประสบการณ์เดิมของเด็กๆ เกี่ยวกับม้าก้านกล้วย ประโยชน์ของการเล่นม้าก้านกล้วย (ม้าก้านกล้วยคืออะไร? ม้าก้านกล้วยมีลักษณะ อย่างไร?) - ครูให้เด็กแต่ละคนออกมาพูดหน้าชั้นเรียนให้เพื่อนๆ ฟังว่า ม้าก้านกล้วยที่เด็กๆ รู้จักเป็นอย่างไร มีรูป ร่างหน้าตาอย่างไร ท�ำจากวัสดุอะไร (เวลาพูดคุยกับเด็ก ครูช่วยเขียนลงกระดาษชาร์ดด้วย เน้นการแสดง ความคิดเห็น การมีส่วนร่วม ไม่มีถูก/ผิด และเขียนทุกค�ำพูดที่เด็กพูด เปิดกว้าง ครูมีส่วนช่วยเหลือในการสรุป ค�ำพูดที่เด็กเสนอความคิดเห็นแล้วจะบันทึก) - ให้เด็กวาดภาพระบายสีม้าก้านกล้วยตามจินตนาการของเด็ก ในชื่อผลงาน “ม้าก้านกล้วยของฉัน” วันที่ 3 ครูสนทนากับเด็ก ให้เด็กๆ ช่วยกันคาดคะเนว่า ม้าก้านกล้วยท�ำอย่างไร (วัสดุ-อุปกรณ์, วิธีการท�ำ, ลักษณะของม้าก้านกล้วย) เด็กร่วมกันเสนอความคิดเห็น ครูจดบันทึกลงใน กระดาษชาร์ด จากนั้นให้เด็กๆ ไปสืบเสาะหาความรู้เพิ่มเติมว่า ม้าก้านกล้วยท�ำอย่างไร เช่น ถามผู้ปกครอง/ ครู/พี่/ผู้รู้, ศึกษาจากหนังสือ/อินเทอร์เน็ต

RkJQdWJsaXNoZXIy NDQyNzM=