คู่มือเยี่ยมบ้านจิตอาสาครอบครัว

20 3.4 ความสม�่ำเสมอในการรับรู้และตอบสนอง การตอบสนองที่คงเส้นคงวาและเป็นไปในทางเดียวกันของผู้เลี้ยงดูทุกคนแต่ละคน จะท�ำให้เด็กมีจิตใจที่ มั่นคง รู้สึกปลอดภัย มั่นใจในตัวเอง และพร้อมที่จะเติบโตในสังคม ตัวอย่างกิจกรรมที่ช่วยสร้างสัมพันธภาพระหว่างแม่กับลูก • การนวดสัมผัส นวดลูกเบาๆอย่างน้อยวันละครั้ง โดยท�ำไปพ้อมๆกับท�ำเสียงที่อ่อนโยนหรือบอกรัก • การพูดคุยหรือร้องเพลง พูดคุยหรือร้องเพลงให้ลูกฟัง 3 หรือ 4 ครั้งต่อวัน เช่น หลังให้นม หรือฟังเสียง และสังเกตท่าทางที่ลูกท�ำแล้วเลียนแบบพฤติกรรมนั้น • การเล่นกับลูก เลือกอุปกรณ์หรือของเล่นที่เหมาะสมกับอายุของลูก และเล่นกับลูกประมาณ 3-4 ครั้งต่อ วัน หลังให้นม เช่น น�ำสิ่งของในบ้านที่มีสีสันสวยงามให้ลูกดู หรือสิ่งของที่มีเสียง โดยถือสิ่งของนั้นให้ใกล้ พอที่ลูกจะเอื้อมจับได้ เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน เด็กแต่ละคนมีนิสัยใจคอ ความชอบที่แตกต่างกัน เหมาะสมกับพัฒนาการ เด็กแต่ละวัยมีความต้องการให้แม่คอบสนองแตก ต่างกัน เหมาะกับสถานการณ์ ให้อิสระในการเรียนรู้ผ่านสถานการณ์ต่างๆ ใน ชีวิตประจ�ำวันของลูก อาทิ • เมื่อเด็กต้องการเล่น ไม่ห้ามหรือกังวลเกินไป จนท�ำให้เด็กกลัว • เมื่อเด็กกลัว แม่ตอบสนองด้วยความรัก การเอาใจใส่ ด้วยการโอบกอดลูก ให้เกิดความมั่นใจ • เมื่อเด็กหิว พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูควรหาน�้ำ หาอาหารให้ลูกรับประทาน • เมื่อเด็กต้องการก�ำลังใจ แม่พยักหน้ายิ้ม ให้ก�ำลังใจ ส่งเสียงเชียร์ • เมื่อเด็กเหนื่อย ง่วง แม่อุ้ม ร้องเพลงกล่อมนอน ** ไม่ใช้อารมณ์ ไม่ใช้ความรุนแรงทั้งกายและวาจา ในการตอบสนองลูก ** 3.2. ความไวในการรับรู้ถึงความรู้สึกและความต้องการของลูก มีความส�ำคัญอย่างมากในช่วงขวบปีแรก เนื่องจากเด็กยังสื่อสารความต้องการเป็นค�ำพูดไม่ได้ การที่แม่รับ รูความต้องการได้เร็ว ก็จะส่งผลให้ตอบสนองได้เร็ว และส่งผลให้เด็กรู้สึกได้รับการดูแล รู้สึกปลอดภัย มั่นคง ในจิตใจ 3.3. การตอบสนองต่อลูก แม่ควรสังเกตพฤติกรรม ท่าทาง การแสดงออกของลูกว่าต้องการสื่อสารอะไร และพยายามแปลการ แสดงออกนั้น โดยเฉพาะเด็กเล็กที่ยังพูดไม่ได้ อาศัยการสังเกตสีหน้า ท่าทาง จดจ�ำท่าทางเหล่านั้นแล้วตอบ สนองทันที อย่างถูกต้อง และสม�่ำเสมอ การตอบสนองที่เหมาะสมมีความส�ำคัญมาก โดยมีหลักการกว้างๆ ดังนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy NDQyNzM=